Industrial Robot Selections

            ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีหุ่นยนต์เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่นด้านอุตสาหกรรมการผลิตแตกต่างจากเมื่อก่อนที่หุ่นยนต์มักถูกนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันมีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ หุ่นยนต์สำหรับงานสำรวจ หุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศ หรือแม้แต่หุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องเล่นของมนุษย์ จนกระทั่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาให้หุ่นยนต์นั้นมีลักษณะที่คล้ายมนุษย์ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบันและอนาคตหุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยจะทำงานแทนมนุษย์ในงานต่างๆ งานที่เสี่ยงต่ออันตราย เช่น งานยกเหล็กเข้าเตาหลอม งานที่เกี่ยวกับสารเคมี งานที่ทำซ้ำ งานยกสินค้าจากสายงานการผลิต งานบรรจุผลิตภัณฑ์ งานเชื่อม งานตัด งานเชื่อมแนว เชื่อมเลเซอร์ งานที่ต้องใช้ความละเอียดประณีต เช่น งานประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ งานตรวจสอบ (Inspection) เป็นต้น ผู้ผลิตเทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดี  ได้แก่ ABB, Kuka, Nachi และ Yaskawa

คุณสมบัติเฉพาะของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั้ง 4 ผู้ผลิตมีดังนี้

–  ABB หุ่นยนต์อุตสาหกรรมของบริษัท ABB จะเน้นเรื่องระบบปฏิบัติการในการควบคุมหุ่นยนต์ (Robot ware) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ ABB สร้างขึ้นเอง 

– Kuka อุตสาหกรรมที่มี Payload น้ำหนักที่หุ่นยนต์สามารถรองรับได้ปริมาณมาก เน้น Robot ที่มี 6 แกนเท่านั้น (6 จุดหมุน) สามารถทำงานตามแรงกดของมนุษย์ได้ Kuka ยังมีระบบปฏิบัติการ (Kuka Connect) ซึ่งตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 ในยุคนี้                                               

– Nachi เน้นการทำงานของหุ่นยนต์แบบ Hi speed ประหยัดไฟ และประหยัดพื้นที่ในการทำงานให้เกิดความกะทัดรัดให้ประสิทธิภาพความปลอดภัย และสามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้                                  

– Yaskawa เน้นการทำงานร่วมกัน (Collaborative) Robot ของYaskawa ทุกรุ่นจะป้องกันน้ำได้ เน้นหุ่นยนต์ 4 แกนที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้น   

วิธีการเลือก Robot ในการใช้งาน

 คำนึงถึง Payload หรือน้ำหนักที่หุ่นยนต์ต้องถือ

 ประเภทของการนำไปใช้งาน                                                         

 พื้นที่การใช้งาน                                                                    

 ความรวดเร็วของการทำงาน                                                        

จาก 4 ผู้ผลิตที่กล่าวมาพอจะสรุปถึงความสามารถของหุ่นยนต์ได้ ดังนี้ 

  • – เป็นงานที่ต้องการความแม่นยำและถูกต้องในการผลิตสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง 
  • – ช่วยลดอุบัติเหตุในงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น งานเชื่อม ยกของหนัก
  • – สามารถทำงานซ้ำๆที่เป็นเวลานานได้ 
  •  สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร 
  • – ควบคุมต้นทุนของการผลิต 
  • – ลดระยะเวลาในการส่งของออกสู่ตลาด