อาลีบาบา (Alibaba.com)

หรือกลุ่มบริษัทอาลีบาบา เป็นเว็บไซต์ขายส่งที่นัดให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้เข้ามาพบกันและเกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าทางการค้าซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคนทั่วโลกให้การยอมรับโดยมี แจ๊คหม่า หรือ หม่าหยุน เป็นผู้ก่อตั้ง อาลีบาบาดอทคอม (Alibaba.com) เว็บไซต์อี-คอมเมิร์ซสัญชาติจีนนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1999 โดยเชื่อว่าการ Sharing economy เป็นการช่วยธุรกิจที่มีขนาดเล็กให้เติบโตและมีประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ Alibaba มีบริษัทในเครือมากมายอาทิเช่น Taobao , Tmall , Etao , Alipay, Aliyun ฯลฯ การสั่งซื้อสินค้าของอาลีบาบาในแต่ละครั้งต้องมียอดไม่ต่ำกว่า USD3000 หรือ 99,800 บาทแต่ปัจจุบันเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยลง จึงลดลงเหลือ USD50 ก็สามารถสั่งสินค้าได้

          กลุ่ม Alibaba group ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยประกาศแผนลงทุนในเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และยังได้ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนไทยอีกหลายแห่ง ธุรกิจที่อาลีบาบาเข้ามาร่วมลงทุนในประเทศไทยได้แก่

– ธุรกิจนำเข้า ส่งของ สินค้าออนไลน์

– ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาให้ความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซ

– บริการชำระเงิน อาลีเพลย์ (Alipay)

– อาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba cloud)

– แพลตฟอร์มด้านการท่องเที่ยว ฟลิกกี้ (Figgy)

     ในขณะนี้ตัวแทนบริษัทจัดซื้อของอาลีบาบา ได้ลงพื้นที่สวนผลไม้ภาคตะวันออกของประเทศไทยได้แก่ ระยอง จันทบุรี ตราด เพื่อทำข้อตกลงสั่งซื้อทุเรียนนำไปเปิดตลาดที่จีนปีละ 800,000 ลูก ขายออนไลน์ผ่านเว็บ Tmall.com ประเทศจีน และถือเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรไทยที่มียอดการสั่งจองทุเรียนข้ามปีและมีจำนวนมาก แต่ในการเซ็นบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU 4 ฉบับ ระหว่างรัฐบาลของไทยกับกลุ่มบริษัทอาลีบาบา (Alibaba) จะทำให้ผู้ประกอบการไทยเสียเปรียบทางการค้าหรือไม่นั้น ยืนยันว่าไทยไม่เสียเปรียบแต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจออนไลน์ของไทยเข้าสู่ตลาดสากลได้มากขึ้น พร้อมระบุ MOU ดังกล่าวไม่ได้ให้สิทธิบริษัท อาลีบาบา ในการดึงข้อมูลของผู้ประกอบการไทยออกไปได้ แต่กลับช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดการค้าเสรีได้ง่ายขึ้น และได้ประโยชน์จากข้อมูลการวิเคราะห์ตลาดเป้าหมายผ่านการวิเคราะห์ของบริษัทอาลีบาบาอีกด้วย                                                     

ผลดีของไทยกับอาลีบาบา

  1. ผู้บริโภคของชาวไทยและชาวจีนจะซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง
  2. เกิดการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวกับ”อีคอมเมิร์ซ” มากขึ้น
  3. ธุรกิจเอสเอ็มอี ผู้ผลิต โรงงาน สามารถเสนอขายสินค้าได้หลากหลายและมีความแปลกใหม่
  4. แพลตฟอร์มคนกลางก็จะได้ประโยชน์ เพราะจะกินส่วนแบ่งจากสินค้าที่ขายได้
  5. การใช้งานของ Alibaba ถือว่าง่ายมากระบบในการทำงานไม่มีอะไรซับซ้อน สามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตัวเอง
  6. การขายสินค้าใน Alibaba สามารถขายปลีกหรือขายส่งก็ได้ และไม่จำเป็นที่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
  7. จะส่งผลให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีความเติบโตแบบก้าวกระโดด

ข้อจำกัดของไทยกับอาลีบาบา

  1. ผู้ประกอบการของไทย สู้สินค้าออนไลน์ที่มีราคาต่ำกว่าไม่ได้
  2. กลุ่มพ่อค้าคนกลาง หรือ ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า จะถูกตัดออกไป
  3. มีการผลิตสินค้าที่คล้ายๆกันหรือทับซ้อนกับคนจีนเพิ่มมากขึ้น ต้องมีการเร่งพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันให้ได้
  4. การซื้อขายผ่านทางอาลีบาบาส่วนใหญ่จะใช้แบบ TT/T นั่นคือจ่ายเงินสดในทุกกรณี
  5. การทำตลาดในอาลีบาบาจะต้องมีความระมัดระวังในเรื่องของการโกงหรือการล่อลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งจะมีทุกรูปแบบ

การเปลี่ยนแปลงนั้นถือเป็นเรื่องปกติที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ประกอบต้องมีการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงและถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายในการทำธุรกิจการค้า การเข้ามาประเทศไทยของ Alibaba ครั้งนี้ ไม่สามารถคาดเดาได้อย่างแน่นอนว่าอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใดต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

https://www.posttoday.com/social/think/548800 https://money.kapook.com/view191904.html                    http://www.thebiz.in.th/index.phplay=show&ac=article&Id=539415990  https://www.thairath.co.th/content/452259                          https://today.line.me/th/pc/article/