นักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์หุ่นยนต์ออกหาและฆ่าปลาดาว

มนุษย์เรามีความผูกพันกับท้องทะเลมาเป็นเวลานาน รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ใต้ท้องทะเล และการคมนาคมทางน้ำ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ฯลฯ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์แสวงหาผลประโยชน์จากท้องทะเลมากขึ้น อาจส่งผลให้ท้องทะเลเกิดความเสื่อมโทรมอย่างเห็นได้ชัด เช่นตามแนวปะการัง แต่มนุษย์อาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักที่ส่งผลให้ปะการังเสียหายโดยตรงเลยทีเดียว ในประเทศออสเตรเรีย Great Barrier Recf (เกรตแบร์รี่เออร์รีฟ) เกิดการหลั่งไหลของปลาดาวจำนวนมากที่เข้ามาในแนวปะการัง เป็นผลจากที่มนุษย์ปล่อยสารเคมีลงในมหาสมุทร สารเคมีเหล่านี้ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่าย จึงเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนการเกิดปลาดาวพันธุ์ Crown-of Thorms เป็นปลาดาวที่ชอบกินปะการังและเพิ่มจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ Queensland University of Technology ได้ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ดำน้ำและฆ่าปลาดาวสายพันธุ์เจ้าปัญหานี้ เมื่อหุ่นยนต์ตรวจพบปลาดาวมันจะฉีดสารพิษเพื่อฆ่าปลาดาว หุ่นยนต์นี้เริ่มสร้างในปี 2015 จนสามารถได้นำออกมาใช้งานจริงมีชื่อว่า Ranger Bot มีน้ำหนัก 30 ปอนด์ หรือราวๆ 13 กิโลกรัม ควบคุมผ่านแท็บเล็ต สามารถปฏิบัติการใต้น้ำนานถึง 8 ชั่วโมง ก่อนกลับมาชาร์ตแบตฯ นอกจากจะทำตัวเป็นนักฆ่าใต้ท้องทะเลแล้ว เจ้า Ranger Bot ยังทำหน้าที่สำรวจสภาพแนวปะการังทำให้นักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลฟื้นฟูสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลมากขึ้น

https://news.thaiware.com/14474.html