การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องของอนาคตอีกต่อไป สังเกตจากปั๊มน้ำมันหลายแห่งเริ่มจะติดตั้งเครื่องชาร์จไฟสำหรับรถยนต์บ้างแล้ว เพราะปัจจุบันทั่วโลกมี รถยนต์ไฟฟ้าอยู่ประมาณ 3.1 ล้านคัน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วยกตัวอย่าง นอร์เวย์ ที่มีกำหนดการใช้รถอีวี ยานยนต์ไฟฟ้า ที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ในปี 2025ประเทศไทยเองก็มีแผนส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรมในปี 2579 จำนวน 1.2 ล้านคัน โดยมอบหมายให้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ดูแลเรื่องของใบอนุญาต ออกกติกาต่างๆ และจะนำไปสู่การพัฒนา อุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ที่จะต้องมีการศึกษาอยู่ 3 ประเภท ระบบไฟฟ้า ปรับสมดุลการจ่ายไฟ ให้สามารถใช้กับโซลาร์รูฟท็อป และการเกิดขึ้นของยานยนต์และสถานีอัดประจุไฟฟ้า รัฐบาลไทยผลักดัน โครงการสมาร์ทซิตี้ พัฒนาแหล่งพลังงานทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งพลังงานและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสมและยั่งยืนภายในปี 2579 ที่จะเปลี่ยนเป้าหมายการพึ่งพาน้ำมันและก๊าซ เป็นพลังงานทดแทนมากขึ้นมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีส่งให้ ขสมก.นำไปพิจารณาการใช้งานที่เหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นพันธมิตรร่วมในโครงการนำร่องนี้ สนับสนุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ ที่คาดจะมีข้อสรุปในเบื้องต้นในเดือน ก.ย.นี้ ให้ความสำคัญกับการมีไฟฟ้าใช้ที่เพียงพอและมั่นคง ในแต่ละภูมิภาค จะต้องมีโรงไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง โรงไฟฟ้าหลักกระจายเชื้อเพลิงเพื่อลดความเสี่ยง การส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน เป็นเรื่องจำเป็นตามทิศทางของโลกที่ให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทนในสัดส่วนที่เหมาะสม คำนึงถึงผลกระทบความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ค่าไฟของประชาชน และต้นทุนค่าไฟฟ้าภาพรวมในอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนทิศทางเศรษฐกิจโลกจากหน้ามือเป็นหลังมือ
https://www.thairath.co.th/content/1375195#cxrecs_s